วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-mail )

1. ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
   e-Mail   หรือ Electronic Mail   เป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์   รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที  โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็ว   ไม่ต้องเสียเวลารอคอยที่ยาวนานเหมือนกับไปรษณีย์ทั่วไป  การติดต่อโดยใช้ไปรษณีย์ธรรมดาติดต่อภายในประเทศอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ถ้าหากเป็นจดหมายที่ส่งไปยังต่างประเทศ (Air mail) อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์    e-Mail ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าการใช้โทรศัพท์หรือการส่งจดหมายโดยวิธีปกติที่ใช้กันหลายเท่าตัวโดยทั่วไป  ค่าใช้จ่ายในการส่ง e-Mail ไม่ว่าจะส่งจากแห่งใดในทุกมุมโลกก็ไม่ต่างกัน   ไม่ว่าจดหมายนั้นจะสั้นหรือยาว  จะส่งไปใกล้หรือไกล
     e-Mail  เป็นช่องทางสำหรับการส่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป  นักเรียน-นักศึกษา นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน หรือติดต่อ ส่งข้อมูล ข้อความ ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน   องค์กรขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถติดต่อกับบุคลากร หรือทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอีเมล์ เป็นต้น
2.กระบวนการการของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IMAP (Internet Message Access Protocol)
MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
วิธีการทำงานของ POP3
         POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
วิธีการทำงานของ SMTP
          วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก
วิธีการทำงานของ IMAP
          เป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ
1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้
2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server
3. Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค
3.อีเมล์แอดเดรส (E-mail address) คือ
   อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
1. ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
2. ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
3. ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4. ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ
.com = commercial บริการด้านการค้า
.edu = education สถานศึกษา
.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
.gov = government หน่วยงานรัฐบาล
.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย
ตัวอย่าง e-mail address
stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th
การลงทะเบียนขอ e-mail address
ผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนขอ e-mail address ได้จาก เว็บต์ที่ให้บริการทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและฟรี เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่ www.yahoo.com , www.thaimail.com , www.hotmail.com
การรับส่ง e-mail มีองค์ประกอบดังนี้
-เว็บไชต์ที่ให้บริการรับส่ง e-mail เปรียบเหมือนที่ทำการไปรษณีย์
- e-mail address ของผู้ส่ง
- e-mail address ของผู้รับ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การค้นหาข้อมูลระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


1 ความหมายของSearch Engine
             Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

2 ประเภทของSearch Engine
       Search Engine มี3ประเภท

 ประเภทที่ 1Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

 ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
    Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้
    ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Director
    1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทย
            (URL : http://www.dmoz.org )
    2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย                                            
          (URL : http://webindex.sanook.com )
    3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
    Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้ google

 เว็บไซต์ Google (www.Google.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล
       เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ
 
Description: http://www.dld.go.th/ict/article/ball_hilite.gifเว็บ (Web)
เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
Description: http://www.dld.go.th/ict/article/ball_hilite.gifรูปภาพ (Images)
เป็นการค้นหารูปภาพจากการแปลคำ Keyword
Description: http://www.dld.go.th/ict/article/ball_hilite.gifกลุ่มข่าว (News)
เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว, หัวข้อข่าว, วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว
Description: http://www.dld.go.th/ict/article/ball_hilite.gifสารบบเว็บ (Web Directory)
Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย

เครือข่ายใยแมงมุม


1 World wide Web หรือ เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม (World wide Web หรือ W3 หรือ WWW) เรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ (Web) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ การเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังอีกแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด

WWW จะแสดงผล ในรูปแบบของเอกสารที่ เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext ) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสาร ข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจาย ไปในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ให้สามารถนำมาใช้งานได้ เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน คล้ายกับเส้นใยแมงมุม ที่ถักทอเส้นสาย เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลกันไปมา


การให้บริการของอินเทอร์เน็ต แบบ WWW เป็นระบบงาน ที่ทรงพลังมากในยุคปัจจุบัน ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกอย่างแท้จริง เนื่องจากสามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งในแบบข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทำให้ข้อมูลที่นำมาแสดง มีความน่าสนใจขึ้น การค้นหาข้อมูลแบบ WWW จะมีการเชื่อมโยงข้อมูล ตามเส้นทาง ที่กำหนดไว้ เรียกว่า LINKS

การเข้าไปใช้งานใน อินเทอร์เน็ตแบบ WWW ทำให้เรามีความรู้สึก เสมือนได้เดินทางท่องเที่ยว ไปยังที่ต่าง ๆ เราเรียกดินแดนที่มองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เข้าไป ว่า "ไซเบอร์สเปซ" (Cyberspace)

2 ความหมายและลักษณะของ URL

URL เป็นตัว Link เพื่อเชื่อมโยง Web Page เข้าด้วยกันนั้นจะต้องใช้ URL (Uniform Resource Locator) เป็นเลขทะเบียนอ้างอิงตำแหน่ง (Address) โดยในแต่ละ Web Page จะต้องมี URL เพื่อใช้อ้างอิงตำแหน่งที่เป็นของตนเองซึ่งตำแหน่งของ URL Address นั้นจะไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างและความหมายของ URL
http://www.chaiyo.com/path/index.html
“http” : เป็นส่วนที่ใช้ระบุประเภท Protocol ซึ่งในที่นี้กำหนด Protocol คือ HTTP และนอกจาก protocol http สำหรับ www แล้วยังมี ftp,gophers,wais,telnet,news เป็นต้น
www.chaiyo.com : ส่วนนี้เป็นตัวเลข 4 ชุดที่ใช้ระบุตำแหน่งของ Internet Sever และเรียกชุดของตัวเลขนี้ว่า IP Address เช่น 163.12.135.7 แต่ทั้งนี้ในการเขียน URL ปกติจะไม่เขียนเลขชุดเหล่านี้เนื่องจากจำยากจึงมีการนำเอาข้อความมาแทน เช่น www.Chaiyo.com แต่ในการใช้งานจริงคุณสามารถใช้งานได้ทั้ง IP Address ที่เป็นตัวเลขหรือใช้ข้อความแทน
path : เป็นการกำหนดเส้นทางของสิ่งที่คุณต้องการ หรือเส้นทางที่อยู่ ของ Web Page ใน Internet Server
index.html : เป็นส่วนของสิ่งที่เราต้องการ เช่นถ้าเราต้องการเข้าหน้าแรกของ Home page จะระบุเป็น index.html ทั้งนี้ใน web ส่วนใหญ่จะใช้ index.html เป็นหน้าแรกและทำให้ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องใส่คำ ว่า index.html ลงใน URL เกี่ยวกับ domain name ที่ใช้เป็น ข้อความนั้นได้มีการวางแบบแผนของข้อความ คือจะมี ชื่อ site, องค์กร, ประเทศ เช่น Chiyo.com.th จะเป็นการบอกว่า Home Page นี้ชื่อ “Chaiyo” เป็นองค์กรประเภท com (commmmercial – การค้า) และเป็นของประเทศ th ( Thailand)

3 domain หมายถึง

Domain ในความหมายทั่วไป หมายถึง พื้นที่ที่ควบคุม หรือ โลกของความรู้ ในอินเตอร์เน็ต domain ประกอบด้วย กลุ่มของตำแหน่งเครือข่าย ชื่อ domain จัดโครงสร้างเป็นระดับ โดยระดับบนสุดเป็นการระบุด้านภูมิศาสตร์หรือจุดมุ่งหมายขององค์กร (เช่น .th หมายถึงประเทศไทย .com หมายถึงหน่วยธุรกิจ) ระดับที่สองเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำ (Unique) ภายใน Domain ระดับบนสุด และระดับต่ำที่ต้องนำมาใช้
         
ถ้ากล่าวอย่างชัดเจนแล้ว domain name system ของอินเตอร์เน็ต domain เป็นชื่อที่สามารถบันทึกเป็นชื่อร่วมกับ subdomain หรือ host เช่น widebase.net สามารถบันทึกชื่อ domain เป็น www.widebase.net และ www1.widebase.net
         
ใน Windows NT และ Windows 2000 ความหมายของ domain หมายถึงกลุ่มของทรัพยากรในเครือข่ายสำหรับกลุ่มของผู้ใช้ โดยผู้ใช้ต้อง Login เข้าสู่ระบบเพื่อดึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในเครื่องแม่ข่ายคนละเครื่องในระบบเครือข่าย

เทคโนโลยีสารสนเทศ


1 บอกความหมายของเทคโนโลยี !

                 ความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ

2 บอกความหมายของสารสนเทศ

                สารสนเทศ (information)  เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม  สารสนเทศแข็ง คือสิ่งที่เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจและการวางแผน หรือการทำงานได้ สารสนเทศอ่อน มีคุณสมบัติตรงข้ามกับสารสนเทศแข็ง คือ เชื่อถือได้น้อย ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ประโยชน์ คือ สามารถสร้างความมั่นใจและการวางแผน ตัวอย่างเช่น การที่เราได้รับข้อมูลหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมาอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จริงหรือจริงก็ได้ สิ่งที่ได้กล่าวไปข้างต้นคือ ข้อมูลสารสนเทศอ่อน แต่สารสนเทศแข้ง คือ ข้อมูลนั้นจะต้องถูกตรวจสอบ หรือ ลงมือทำก่อนเป็นการพิสูจน์หลักฐานก่อนแต่ต้องเป็นความจริงหรือเท็จก็แจเป็นไปได้

3 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง

                Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

ิblogger คือะไร

บล็อกblog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพลิงค์ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่ ไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์


 ประโยชน์ของบล็อก
  1. คลังความรู้ มีความรู้มากมายให้ค้นหา ให้อ่านตามความสนใจ
  2. คลังมิตรภาพ เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์จนกลายเป็นมิตรภาพดีๆ
  3. คลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และต่อยอดความรู้ออกไป
  4. คลังแห่งความสุข เป็นที่ระบายความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และเพิ่มความสุขในชีวิต
  5. คลังข้อมูล ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกที่สำคัญ ช่วยให้เจ้าของข้อมูลสามารถดึงดูดข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
  6. คลังเพื่อการฝึกฝน เป็นแหล่งฝึกฝนระบบการคิด ทักษะการเขียน และความสามารถด้านถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆ และยังเป็นแหล่งฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้อย่างดีอีกด้วย
  7. คลัง KM ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีผู้เชียวชาญด้านการจัดการความรู้ (KM) มากมาย อีกทั้งสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM) ได้ง่ายเพียงแค่คลิก
  8. คลังประชาสัมพันธ์และกิจกรรมงานบุญ เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมมากมาย
  9. คลังแห่งองค์กรต่างๆ บางองค์กรเลือกเว็บไซต์ GOtoKnow.org เป็นเครื่องมือเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
  10. คลังเพื่อนช่วยเพื่อน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งทางออนไลน์ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พบว่าเกิดกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ช่วยสอนวิธีการใช้งานบล็อก
  11. คลังความรู้ฝังลึก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ที่มี่เป็นคลังความรู้ มีสารประโยชน์ต่างๆ มากมายให้เลือกอ่าน และที่สำคัญความรู้ส่วนใหญ่นั้นเป็นความรู้สึกฝังลึกที่ซ่อนอยู่ ในตัวคนทุกคนนั่นเอง ที่นี่จึงกลายเป๋นคลังความรู้ฝังลึกที่ใหญ่มาก และถ้าหากสามารถสกัดความรู้ฝังลึกเหล่านี้ให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้งได้ ที่มี่กลายเป็นคลังแก่นความรู้ได้ต่อไป
          ทั้ง 11 ข้อ เป็นปะโยชน์ที่เกิดจากการสกัดข้อมูลออกมาจากบันทึกจำนวนมาก และแน่นอนว่าประโยชน์ของบล็อกไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลากหลายข้อ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าสามารถนำบล็อกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดนั่นเอง