วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-mail )

1. ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
   e-Mail   หรือ Electronic Mail   เป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์   รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที  โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็ว   ไม่ต้องเสียเวลารอคอยที่ยาวนานเหมือนกับไปรษณีย์ทั่วไป  การติดต่อโดยใช้ไปรษณีย์ธรรมดาติดต่อภายในประเทศอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ถ้าหากเป็นจดหมายที่ส่งไปยังต่างประเทศ (Air mail) อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์    e-Mail ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าการใช้โทรศัพท์หรือการส่งจดหมายโดยวิธีปกติที่ใช้กันหลายเท่าตัวโดยทั่วไป  ค่าใช้จ่ายในการส่ง e-Mail ไม่ว่าจะส่งจากแห่งใดในทุกมุมโลกก็ไม่ต่างกัน   ไม่ว่าจดหมายนั้นจะสั้นหรือยาว  จะส่งไปใกล้หรือไกล
     e-Mail  เป็นช่องทางสำหรับการส่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป  นักเรียน-นักศึกษา นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน หรือติดต่อ ส่งข้อมูล ข้อความ ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน   องค์กรขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถติดต่อกับบุคลากร หรือทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอีเมล์ เป็นต้น
2.กระบวนการการของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IMAP (Internet Message Access Protocol)
MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
วิธีการทำงานของ POP3
         POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
วิธีการทำงานของ SMTP
          วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก
วิธีการทำงานของ IMAP
          เป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ
1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้
2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server
3. Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค
3.อีเมล์แอดเดรส (E-mail address) คือ
   อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
1. ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้
2. ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
3. ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4. ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ
.com = commercial บริการด้านการค้า
.edu = education สถานศึกษา
.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
.gov = government หน่วยงานรัฐบาล
.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย
ตัวอย่าง e-mail address
stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th
การลงทะเบียนขอ e-mail address
ผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนขอ e-mail address ได้จาก เว็บต์ที่ให้บริการทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและฟรี เว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่ www.yahoo.com , www.thaimail.com , www.hotmail.com
การรับส่ง e-mail มีองค์ประกอบดังนี้
-เว็บไชต์ที่ให้บริการรับส่ง e-mail เปรียบเหมือนที่ทำการไปรษณีย์
- e-mail address ของผู้ส่ง
- e-mail address ของผู้รับ

4 ความคิดเห็น: